วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เซอร์วิสแมชชีนเซเว่น จำหน่ายเครื่องจักรมือสอง สภาพพร้อมใช้งาน

เซอร์วิสแมชชีนเซเว่น จำหน่ายเครื่องจักรมือสอง เช่น เครื่องกลึง,เครื่องมิลลิ่ง,เครื่องเจาะ ,เครื่องจักร CNC และบริการจัดหาเครื่องจักรต่าง ๆ ตามความต้องการ


- เครื่องกลึง Phillip ขนาด6 ฟุต สภาพดี พร้อมใช้งานปัจจุบันใช้งานอยู่ ราคา 153,500 บาท













- เครื่องมิลลิ่ง เบอร์ 4 โต๊ะ เบอร์ 5 สภาพดี พร้อมใช้งานปัจจุบันใช้งานอยู่ ราคา 180,000 บาท



















- เครื่องมิลลิ่ง เบอร์ 3 สภาพดีมาก พร้อมใช้งานปัจจุบันใช้งานอยู่ ราคา 152,000 บาท




















- เครื่องมิลลิ่ง เบอร์ 2 สภาพดีมาก พร้อมใช้งานปัจจุบันใช้งานอยู่ ราคา 94,500 บาท




















- จำหน่ายโลหะไทเทเนียมแผ่น ,แท่ง ,น๊อต และหลายหลายรูปแบบเริ่มต้นตั้งแต่หลัก 1xx บาท













นาย ณัฐภาส อัสนี
Mobile: 089-103-5968
Phone: 02-427-5295
Email : service.na@hotmail.com
Website: http://servicemachine7.blogspot.com

การประยุกต์ใช้ไทเทเนียมกับเครื่องประดับ

ไททาเนียมถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1791 โดยดับเบิ้ลยู - เกรเกอร์ (W. Gregor) คำว่า 'Titanim ' มาจากภาษาละติน 'Titan' เป็นโลหะที่แฝงตัวอยู่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสินแร่ พบมากเป็นอันดับ 9 บนพื้นผิวโลก และมักจะพบในแหล่งแร่พวก ริวไทล์ (Rutile) และอิลเมไนต์ (Iimenite) ซึ่งต้องมีกระบวนการที่ซับซ้อนในการสกัดเอาไททาเนียมนี้ออกมา ผู้ผลิตไททาเนียมรายใหญ่ได้แก่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และ จีน โดยผู้ที่แยกไททาเนียมออกจากสินแร่รายใหญ่ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย จากการที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการแยกไทเทเนียม โลหะนี้จึงไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งในช่วงปี 1950 ไทเทเนียมมีสีเทาขาวเนื้อเงา น้ำหนักเบากว่าเหล็ก 50% แต่หนักกว่า อะลูมิเนียม (Aluminum) 60% จุดเด่นของไทเทเนียมคือ เนื้อโลหะ มีความแข็งกว่าอะลูมิเนียม 2 เท่า มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อการเกิดสนิม ไม่เป็นสื่อแม่เหล็ก กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้ต้นทุนในการแปลงสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ต่ำ ไทเทเนียมได้รับความนิยมเลือกใช้เป็นวัสดุสำหรับการผลิตสินค้าในด้านต่างๆ เช่น ด้านการบินและอวกาศ เนื่องจากน้ำหนักที่เบา ด้านการแข่งรถ เพราะมีความยีดหยุ่นสูง ด้านการแพทย์เนื่องจากไม่มีการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้านเครื่องใช้ เช่น นาฬิกา และแว่นตา เนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่สร้างความระคายเคืองแก่ผิวหนัง จากความแพร่หลายในการใช้งานของไทเทเนียม ทำให้นักวิจัยได้พัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของไทเทเนียมอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันความบริสุทธิ์ ของไทเทเนียมในมุมมองจองนักวิชาการในห้องทดลองเพื่อการวิจัยแล้ว จะหมายถึง ไทเทเนียม 100% เท่านั้น แต่สำหรับไทเทเนียมในเชิงธุรกิจจะแบ่งออกเป็นหลายเกรด โดยเกรดที่ต่ำกว่าจะบ่งบอกถึงระดับความบริสุทธิ์ของเนื้อโลหะที่สูงกว่า ดังนั้น ไทเทเนียมเกรด 1 2 3 และ 4 จึงมีส่วนประกอบที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ประมาณ 99% ของเนื้อโลหะจะเป็นไทเทเนียม เกรดที่สูงขึ้นจะหมายถึงการผสมโลหะอื่นเข้าไปในเนื้อไทเทเนียม เช่น คาร์บอน เหล็ก ไนโตรเจน ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน ไทเทเนียมตั้งแต่เกรด 5 ขึ้นไป จะผสมไปด้วยโลหะหลายๆประเภท เช่น อะลูมิเนียม วานาเดียม (Vanadium) คาร์บอน ไฮโดรเจน เหล็ก ไนโตรเจน ออกซิเจน ซึ่งเราเรียกโลหะผสมเหล่านี้รวมๆว่า ' อัลลอย ' (Alloy) สาเหตุที่นักวิจัยพยายามเพิ่มอัลลอยเหล่านี้เข้าไปในเนื้อ ไทเทเนียม เนื่องจากต้องการให้เนื้อโลหะมีความทนทานในการใช้งานมากขึ้น ซึ่งสูงถึง 2 - 3 เท่าเมื่อเทียบกับไทเทเนียมเกรด 1 หรือ 2หรือแม้กระทั่งเหล็ก ทนทานต่อสนิมที่เกิดจากน้ำเค็ม กรด และด่าง และสารเคมีต่างๆ ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติทางด้านการไม่สร้างความระคายเคืองกับส่วนต่างๆของร่างกาย เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของนิกเกิลก็ยังคงมีอยู่ ทำให้ไทเทเนียม เกรด 5 ขึ้นไปสามารถนำไปปรับใช้ ในการผลิตวัสดุสำหรับงานประเภทต่างๆได้หลากหลายยิ่งขึ้น บทบาทของไทเทเนียมในอุตสาหกรรมนาฬิกาเริ่มต้นในปี 1980 IWC เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ริเริ่มการนำไทเทเนียมมาใช้เป็นวัสดุผลิตตัวเรือนและสายนาฬิกา โดยการออกแบบของ เอฟ. เอ. พอร์ช (F.A. Porsche) ภายใต้ชื่อ พอร์ช ดีไซน์ (Porsche Design) นับแต่นั้นมา ผู้ผลิตนาฬิกาได้หันมาให้ความสนใจ และเลือกใช้ไทเทเนียมเป็นหนึ่งในวัสดุสำหรับผลิตนาฬิกาของตน ไทเทเนียมที่ใช้ผลิตนาฬิกา ส่วนใหญ่จะเป็นไทเทเนียมเกรด 1 และ 2 เนื่องจากขั้นตอนในการแปรสภาพให้เป็นสินค้าไม่ซับซ้อนเกินไป สีของเนื้อโลหะจึงเป็นสีเทาด้าน ไม่สามารถขัดแต่งได้ TAG Heuer เป็นผู้ผลิตนาฬิการายแรกที่มีการนำเอาไทเทเนียมเกรด 5 มาใช้ทำตัวเรือนนาฬิกาในรุ่น คีเรียม ทีไอ5 (Kirium-Ti-5) แต่ก็ยังไม่มีการเปิดตัวสายที่



ทำจากไทเทเนียมเกรด 5 เนื่องจากโรงงานยังไม่สามารถจัดการกับความแข็งของมันให้เกิดความสบายในการสวมใส่ได้ ในปี 2003 มีนาฬิการุ่นใหม่ที่ผลิตจากไทเทเนียมตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับบน เช่น ไซโก รุ่นสปอร์ตทูรา ไทเทเนียม โอริส(Oris) รุ่น TT1 Divers Titanium ไป จนถึง Breitling Avenger Seawolf เป็นต้น ไทเทเนียมได้ทวีความเป็นวัสดุที่แพร่หลายในวงการนาฬิกาอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีในการผลิตที่ก้าวหน้า ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง และสามารถตอบสนองความต้องการของนักออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกเหตุผลหนึ่งที่ไทเทเนียมเป็นที่นิยมในนาฬ ิการุ่นใหม่ๆก็เพราะแนวโน้มของขนาดของนาฬิกาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นไทเทเนียมจึงเป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ อันหนึ่ง ทั้งในแง่ของความทนทานต่อการสึกกร่อนและน้ำหนักที่เบากว่าโลหะอื่นกว่าครึ่ง
แหล่งข้อมูล http://expert-watch.com.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=397910&Ntype=5

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไทเทเนียน(Titanium)

ไทเทเนียม (Titanium, Ti) เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่อุตสาหกรรมต่างให้ความสนใจ เนื่องจาก โลหะชนิดนี้มีค่าสัดส่วน ระหว่างความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง หรือพูดง่ายๆ คือ มีความแข็งแรงสูงแต่น้ำหนักเบา ทั้งยังมีความทนทานต่อสารเคมีต่างๆ แต่เนื่องจากไทเทเนียมเป็นโลหะที่มีราคาสูง ทำให้การใช้งานโลหะชนิดนี้ยังจำกัดอยู่เพียงเฉพาะในบางอุตสาหกร รมเท่านั้น
ไทเทเนียมเป็นธาตุที่มีมากเป็นลำดับที่ 9 ในชั้นเปลือกโลก แต่โลหะชนิดนี้สามารถเกิดปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ ได้ง่าย จึงไม่พบ ในรูปโลหะบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ แต่จะพบในรูปสารประกอบในแร่ชนิดต่างๆ เช่น แร่รูไทล์ (Rutile) แร่อิลเมไนต์ (Ilmenite) แร่อะนาเทส (Anatase) แร่บรูไคต์ (Brookite) แร่ไททะไนต์ (Titanite) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบแร่ไทเทเนียมอยู่รวมกับแร่เหล็กด้วย














(ซ้าย) วิลเลียม เกรกอร์ (ขวา) มาร์ติน ไฮน์ริช คลาพรอท
ประวัติการพบ

ไทเทเนียมค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1791 โดย วิลเลียม เกรกอร์ (William Gregor) นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ วิลเลียมสังเกตเห็นว่า ทรายสีดำในลำธารใกล้เมืองมาแนคแคน (Manaccan) ประเทศอังกฤษ มีสมบัติถูกแม่เหล็กดูดติดได้ เมื่อเขานำทรายสีดำนี้ไปทำการแยกองค์ประกอบ ผลที่ได้คือ โลหะออกไซด์ 2 ชนิด โดยโลหะออกไซด์ชนิดหนึ่งคือ เหล็กออกไซด์ (iron oxide) ที่มีสมบัติแม่เหล็กดูดติดได้ ส่วนโลหะออกไซด์อีกชนิดหนึ่งนั้น วิลเลียมไม่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นโลหะอะไร และทำให้เขาตระหนักว่า โลหะออกไซด์ปริศนานั้นประกอบด้วยธาตุโลหะใหม่ที่มีสมบัติไม่เหม ือนกับโลหะใดที่มีการบันทึกในขณะนั้น ดังนั้นวิลเลียมจึงเขียนรายงานสิ่งที่เขาพบและส่งไปที่ Royal Geological Society of Cornwall และส่งไปตีพิมพ์ลงใน Crell’s Annalen ซึ่งเป็นนิตยสารวิทยาศาสตร์ของประเทศเยอรมนี
ต่อมาในปี ค.ศ. 1795 นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ มาร์ทิน ไฮน์ริช คลาพรอท (Martin Heinrich Klaproth) ก็พบโลหะออกไซด์ปริศนานี้จากแร่รูไทล์เช่นกัน มาร์ทินจึงตั้งชื่อธาตุโลหะปริศนานี้ว่า ไทเทเนียม ตามชื่อยักษ์ ไททัน (Titan) ที่ปรากฏในตำนานกรีกโบราณ ในตอนหลังมาร์ทินได้ทราบเรื่องการพบโลหะออกไซด์ของวิลเลียมที่เ กิดก่อนการพบของเขา มาร์ทินก็ได้รับตัวอย่างแร่มาแนคคาไนต์ (manaccanite) มาทดลองซ้ำ และยืนยันว่าโลหะออกไซด์ปริศนานั้นประกอบด้วยไทเทเนียมเช่นกัน



แร่รูไทล์
การผลิตไทเทเนียม

การแยกโลหะไทเทเนียมออกจากแร่หรือสารประกอบเ ป็นเรื่องยาก มีขั้นตอนมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง แม้โลหะจะอยู่ในรูปของสารประกอบโลหะออกไซด์ก็ตาม แต่ไม่สามารถแยกด้วยการใช้วิธีเติมคาร์บอนแบบการถลุงเหล็กได้ เนื่องจากไทเทเนียมสามารถเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนกลายเป็นไทเทเ นียมคาร์ไบด์ (titanium carbide) ดังนั้นกว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะคิดหาวิธีแยกโลหะบริสุทธิ์ระดับ 99.9% ออกมาสำเร็จก็ต้องรอถึงต้นศตวรรษที่ 20
โดยในปี ค.ศ. 1910 แมททิว เอ ฮันเตอร์ (Matthew A. Hunter) ประสบความสำเร็จในการแยกโลหะไทเทเนียมบริสุทธิ์ออกมาได้โดยนำสา รประกอบไทเทเนียมเตตระคลอไรด์ (titanium tetrachloride, TiCl4) มาทำปฏิกิริยากับโซเดียมที่อุณหภูมิ 700-800 องศาเซลเซียส ซึ่งวิธีแยกไทเทเนียมนี้เรียกว่า กระบวนการฮันเตอร์ (Hunter process) อย่างไรก็ดีเนื่องจากวิธีนี้มีต้นทุนการผลิตสูงมากจึงไม่สามารถ นำมาใช้ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้

สำหรับการผลิตโลหะไทเทเนียมระดับอุตสาหกรรมใ นปัจจุบันจะใช้กระบวนการของครอลล์ (Kroll process) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสกัด (extraction) 2. การทำให้บริสุทธิ์ (purification) 3. การผลิตไทเทเนียมพรุน (sponge production) และ 4. การเตรียมอัลลอย (alloy creation) โดยแต่ละขั้นมีรายละเอียดดังนี้


กระบวนการผลิตโลหะไทเทเนียมแบบครอล์

1.การสกัด แร่รูไทล์ซึ่งมีไทเทเนียมออกไซด์ (titanium oxide, TiO2) เป็นองค์ประกอบหลักจะถูกป้อนเข้าสู่เตาเผาแบบฟลูอิไดซ์ (fluidized-bed reactor) เพื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซคลอรีนและคาร์บอน (ดังสมการข้างล่าง) ในเตาที่มีอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ผลิตผลที่ได้คือ สารไทเทเนียมเตตระคลอไรด์ คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide, CO2) และ/หรือคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide, CO) และสารประกอบโลหะคลอไรด์ต่างๆ ที่เป็นสารมลทิน



2.การทำให้บริสุทธิ์ เนื่องจากผลิตผลที่ได้จากการสกัดมีสารมลทินต่างๆ เจือปนอยู่ ดังนั้นจึงต้องนำสารทั้งหมดมาทำการกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation) และตกตะกอน เพื่อให้ได้สารไทเทเนียมเตตระคลอไรด์บริสุทธิ์

3.การผลิตไทเทเนียมพรุน ไทเทเนียมเตตระคลอไรด์บริสุทธิ์ในรูปของเหลวที่ได้จากขั้นตอนก่ อนหน้าจะถูกส่งมาที่ถังทำปฏิกิริยา เพื่อทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียม (magnesium, Mg) ที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส (ดังสมการข้างล่าง) และใช้บรรยากาศก๊าซอาร์กอน (argon, Ar) เพื่อป้องกันโลหะไทเทเนียมที่เกิดขึ้นเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน และไนโตรเจนในบรรยากาศปกติ ผลิตผลที่ได้คือ โลหะไทเทเนียมแข็ง (เนื่องจากไทเทเนียมมีจุดหลอมเหลวที่ 1,668 องศาเซลเซียสซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิในถังปฏิกิริยา)




หน้าตาของไทเทเนียมพรุน

ทั้งนี้โลหะไทเทเนียมที่ได้ออกมาจะมีลักษณะเป็นก้อ นพรุนคล้ายฟองน้ำ ซึ่งต้องนำไปล้างน้ำ และล้างด้วยกรดไฮโดรคลอริกเพื่อกำจัดแมกนีเซียม และสารแมกนีเซียมคลอไรด์ส่วนเกินออกไป
ในกระบวนการแยกโลหะไทเทเนียมนั้น สารแมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride, MgCl2) ซึ่งเป็นผลิตผลส่วนเกินหรือของเสียที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปผ่านกระ บวนการแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้า (electrolysis) ทำให้ได้โลหะแมกนีเซียมและก๊าซคลอรีนซึ่งสามารถนำกลับไปหมุนเวี ยนใช้ในกระบวนการใหม่ได้

4.การเตรียมเป็นอัลลอย ในขั้นตอนนี้ไทเทเนียมในรูปก้อนโลหะพรุนจะถูกผสมโลหะหลายชนิดลง ไปเพื่อเตรียมไทเทเนียมอัลลอย หลังจากเติมโลหะชนิดต่างๆ ครบตามสัดส่วนที่กำหนดแล้ว ก้อนโลหะจะถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงและเชื่อมเข้าด้วยกัน จากนั้นก้อนโลหะจะถูกส่งไปหลอมเป็นแท่งอินก็อต (ingot) ในเตาไฟฟ้า โดยอากาศภายในเตาจะถูกดูดออกจนเป็นสุญญากาศ และ/หรือแทนที่อากาศด้วยก๊าซอาร์กอน เพื่อป้องกันโลหะไทเทเนียมเกิดปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนและก๊าซ ไนโตรเจน



(ซ้าย) แท่งอินก็อตมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.4-1.1 เมตร ยาว 4 เมตร (ขวา) แผ่นไทเทเนียม


ในการผลิตแท่งโลหะไทเทเนียมอัลลอยนี้ มีจุดน่าสนใจหนึ่งคือ แท่งอินก็อตไทเทเนียมอัลลอยที่ผลิตออกมาครั้งแรก จะต้อง นำไปหลอมและขึ้นรูปใหม่ซ้ำอย่างน้อยอีก 1-2 ครั้ง แท่งอินก็อตไทเทเนียมอัลลอยนั้นจึงจะได้รับการยอมรับในการซื้อ- ขาย สำหรับเหตุผล ที่ต้องนำแท่งอินก็อตมาหลอมและขึ้นรูปใหม่ซ้ำหลายครั้งก็เพื่อใ ห้โลหะต่างๆ ที่ผสมลงไปกระจายตัวอย่างทั่วถึงยิ่งขึ้นนั่นเอง

สุดท้ายเมื่อได้แท่งอินก็อตไทเทเนียมอัลลอยท ี่ผ่านการหลอม 2-3 ครั้งแล้ว ทำการตรวจหาตำหนิของแท่งอินก็อต และปรับแต่งผิวให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ก่อนจะส่งต่อให้บริษัทแปรรูปเพื่อแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป





แหล่งข้อมูลที่มา http://www.tiche.org/forum/forum_postpop.asp?AN=1&TID=295&PN=1&FID=3&TPN=1

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ (CNC Controller for Milling Machine)

ในปัจจุบันการใช้งานเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC Computer Numerical Control ) ในการอุตสาหกรรมภายในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้อดีของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีคือ สามารถประหยัดเวลา แรงงานคน และทำให้คุณภาพของชิ้นงานที่ได้มีความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตภายนอกประเทศได้ เครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่ใช้งานในประเทศส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียร และเครื่องเจาะ ซึ่งเครื่องจักรส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ จากการสำรวจประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี ในส่วนนี้มีทั้งเครื่องจักรเก่าและเครื่องจักรใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ว่าประเทศต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศในราคาที่แพง อีกทั้งอายุการใช้งานปกติของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีจะมีอายุประมาณ 5-10 ปี เมื่อเครื่องจักรชำรุด จำเป็นต้องมีการปรับปรุง ที่เรียกกันว่าการรีโทรฟิต(Retrofit) จากการสำรวจในประเทศมีเครื่องจักรชำรุดประมาณ 80,000 เครื่อง ในจำนวนนี้สามารถรีโทรฟิตได้ประมาณ 40,000 เครื่อง ส่วนที่เหลือไม่สามารถรีโทรฟิตได้ ต้องนำไปหลอมเป็นเหล็กเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่


การรีโทรฟิตเครื่องจักรมีส่วนประกอบสำคัญที่จะต้องพิจารณาเปลี่ยนอยู่ 3 ส่วนคือ ส่วนระบบควบคุม(CNC Controller) ส่วนมอเตอร์และวงจรขับ(Motor &Driver) และส่วนของเครื่องกล เช่นบอลล์สกรู ลีเนียร์ไกด์ เป็นต้น การรีโทรฟิตเครื่องจักรอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหมด แต่ทำการเปลี่ยนเฉพาะส่วนประกอบที่เสีย ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นราคาส่วนใหญ่ของระบบ โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการประมาณ 5 ถึง 10 รายมีความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องกล ที่สามารถทำการรีโทรฟิตเครื่องจักกลซีเอ็นซีได้ แต่ยังต้องนำเข้าระบบควบคุม วงจรขับ และมอเตอร์จากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบควบคุมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีราคาตั้งแต่ 100,000-300,000 บาท ตามความสามารถของระบบควบคุม แนวคิดการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซีจึงเกิดขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน


cnc_1cnc_2


ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ช่วยลดการนำเข้าชุดเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ
  • เป็นการนำเครื่องจักรเครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่เสื่อมสภาพมาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้อีก แทนที่การทิ้งเครื่อง
  • เนื่องจากพื้นฐานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีแต่ละชนิดมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาระบบ ควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ไปพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรอื่นเช่น เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน หรือเครื่องตัดได้ในอนาคต รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนเช่นเครื่องซีเอ็นซีแบบ 5 แกน หรือ Robot Arm ต่อไป
  • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับเอกชนไทย เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป


cnc_3


โครงสร้างของระบบควบคุมซีเอ็นซีสำหรับเครื่องกัดอัตโนมัติ

แหล่งข้อมูลที่มา http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=148:-cnc-controller-for-milling-machine&catid=124:2009-04-03-05-38-42&Itemid=225